นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

  ประเภทของการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ 

ระเภทของการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาควรให้ความสำคัญนวัตกรรมฯประเภทใด เพราะเหตุใด
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา       พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้ หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67  รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการ ศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและใน มาตรา 22 "การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตน เองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็ม ตามศักยภาพ" การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสม มากน้อยเพียงใด นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่ กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
        นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้อง การสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความ ก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎี และปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการ ใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1. หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขา ต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2. หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3. หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความ สำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
4. หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มี อยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง
นวัตกรรมการเรียนการสอน
       เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ
ที่มา : http://botany.sci.ku.ac.th/learn/http://cyberclass.msu.ac.th/
นวัตกรรมสื่อการสอน       เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการ เรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
- มัลติมีเดีย (Multimedia)
- การประชุมทางไกล (Teleconference)
- ชุดการสอน (Instructional Module)
- วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)
นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล      เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมี ประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่
- การพัฒนาคลังข้อสอบ
- การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
- การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา
- การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
- ฯลฯ
นวัตกรรมการบริหารจัดการ         เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหาร จะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง
        นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมา ใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา
การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อน ทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.phpmodule=study&chapter=4&sub1=3&sub2=1
http://kanok-orn.blogspot.com/2007/10/blog-post.html
ความคิดเห็น      ควรให้ความสำคัญกับนวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เพราะหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าว หน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลกการมีนวัตกรรมทาง ด้านหลักสูตรช่วยให้นวัตกรรมการศึกษาเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ
 ูปแบบการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแบ่งได้กี่แบบ แต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร  
 ตอบ =
นวัตกรรมการศึกษา
นวัต กรรมการศึกษา หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆที่ไม่ซ้ำของเดิม เข้ามาเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมจากวิธีการสอนที่ทำอยู่ เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นวัตกรรมจัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
 กลุ่มที่ 1ได้แก่วิธีจัดการเรียนรู้ เทคนิคการสอนแบบต่างๆ เช่น การสอนแบบร่วมมือร่วมใจ การสอนแบบเกม การสอนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ การสอนแบบโครงงาน เป็นต้น
 กลุ่มที่ 2 ได้แก่สื่อการสอน หรือสื่อการเรียนรู้ สื่อสิ่งตีพิมพ์ เอกสารประกอบการสอน บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน บทเรียนการ์ตูน แบบฝึก วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) E-learning
ลักษณะรูปแบบของนวัตกรรม
 เอกสาร ประกอบการสอน เป็นเอกสารที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเอง เพื่อใช้ประกอบการสอนวิชาหนึ่งวิชาใดตามหลักสูตร นักเรียนเป็นผู้อ่านเอง อาจมีรูปภาพประกอบ น่าสนใจ เนื้อหาใช้คำอธิบายที่เป็นความคิดรวมยอด ใช้ภาษาวิชาการ เหมาะกับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 ขึ้นไป

1.หนังสืออ่านเพิ่มเติม เป็นเอกสารทางวิชาการที่ยึดหลักวิชาการที่มั่นคง ถูกต้อง สะท้อนความคิด ทัศนะและภูมิปัญญาของผู้เขียนลงไปด้วย ใช้สำหรับนักเรียนอ่านเพิ่มเติมเหมาะสมกับวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล ควรจัดมีรูปเล่ม สีสันสวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจ

2.บทเรียนสำเร็จรูป เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดเนื้อหา วัตถุประสงค์วิธีการไว้ชัดเจนให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าและประเมินผลด้วยตนเอง ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ มักเป็นการสอนความคิดรวบยอด มีการเสริมแรงผู้เรียนเป็นระยะ เหมาะสำหรับใช้สอนซ่อมเสริมนักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อน
ข้อดี
1) ผู้เรียนมีโอกาสเรียนตามความสามารถของตนเอง
2) ผู้เรียนเรียนอย่างอิสระไม่อยู่ภายใต้ความกดดัน
3) เสริมความสามารถหรือแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียนในบางคนได้
4) การเรียนโดยบทเรียนสำเร็จรูปจะไม่มีอุปสรรคด้านเวลาและสถานที่
5) ทำให้ผู้เรียนรู้จักรับผิดชอบและทำงานเป็นขั้นตอน
6) ผู้เรียนได้ฝึกแก้ปัญหาและตัดสินใจด้วยตนเอง
ข้อจำกัด
1) การเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ผู้เรียนต้องเข้าใจวิธีการเรียนอย่างชัดเจน หากไม่เข้า
ใจก็จะได้ผลน้อย
2) การมีวินัยของผู้เรียนโดยปฏิบัติตามคำสั่งของบทเรียน จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียน
รู้แต่ถ้าหากตัวผู้เรียนขาดวินัยก็จะทำให้การเรียนด้วยวิธีนี้ล้มเหลว

3.บทเรียนการ์ตูน มีลักษณะเช่นเดียวกับบทเรียนสำเร็จรูป แต่มีการ์ตูนเป็นตัวเดินเรื่อง อาจใส่สีสันสวยงาม น่าอ่านยิ่งขึ้น
4.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีส่วนคล้ายกับบทเรียนสำเร็จรูป แต่แตกต่างตรงที่บทเรียนสำเร็จรูปเป็นเอกสารสิ่งตีพิมพ์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นบทเรียนที่ทำขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาจมีเสียงประกอบ คือโต้ตอบกับสื่อ ช่วยดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ดี
ข้อดีของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน 1. ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ในอัตราความเร็วของตนเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นสื่อ
การเรียนการสอนของการเรียนเป็นรายบุคคลที่ดีสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนตามความสามารถ
ของแต่ละบุคคลที่จะเรียนตามอัตราความเร็วของแต่ละคน โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องรอหรือเร่งการตอบสนอง
( respond )และไม่ต้องรอข้อมูลย้อนกลับ (feed back) จากครู เพราะคอมพิวเตอร์สามารถให้ข้อมูลกลับ
 แก่ผู้เรียนทุกคนในเวลาเดียวกันโดยใช้ระบบการเจียดเวลา (Time Sharing)
  2. ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนเมื่อใดก็ได้ ด้วยความก้าวหน้าของระบบการสื่อสารทำให้ผู้เรียนสามารถ
ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อถ่ายทอดความรู้กับผู้อื่น หรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากโปรแกรมที่กำหนดไว้ได้
ทุกเวลาที่ต้องการจะเรียนในทุก ๆ แห่ง
  3. ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากสื่อประสม (Multi media) จากระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนในปัจจุบันได้รับการพัฒนาจนสามารถ ที่จะแสดงภาพ
ลายเส้นที่เคลื่อนไหวและการเสนอบทเรียนเป็นภาษาไทย การต่อวงจรระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมสื่ออื่น
ให้เสนอบทเรียนในเวลาที่เหมาะสมกับการตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอนดีขึ้นมาก
  4. ผู้เรียนสามารถทราบผลการเรียนของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมรวดเร็วกว่าสื่ออื่น ๆ เนื่อง
จากคอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่น คือการเก็บข้อมูลซ่อนคำตอบของกิจกรรมไว้ในหน่วยความจำหรือ
แผ่นดิสก์ได้ครั้งละมาก ๆ เมื่อผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมแต่ละกิจกรรมแล้วระบบคอมพิวเตอร์
สามารถบอกคำตอบหรือผลเฉลี่ยของกิจกรรมที่ถูกต้องได้ทันที
ข้อจำกัดของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
 1. ขาดบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนา
บทเรียนสำเร็จรูปเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศเกี่ยวกับการสอนวิชาต่าง ๆ แต่วิชาเหล่านี้ไม่
ได้จัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรของประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง
จำ เป็นต้องมีการนำมาพัฒนาหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับหลักสูตรของประเทศไทย และเป็นภาษาไทยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนให้เหมาะ
สม กับระบบการเรียนการสอน แต่ละท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ผู้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อย่างดีขาดความรู้ด้านการจัดระบบการศึกษา และฝึกอบรมบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ และผู้ที่มีความรู้ในด้านการจัดระบบการศึกษา

5 .E-learning เป็นเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ เป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนใช้ E-learning นำเสนอข้อมูล เนื้อหาโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ในรูปสื่อมัลติมีเดีย ให้ผู้เรียนทำการศึกษาผ่านเว็บไซต์ อาจมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันครู-นักเรียน-เพื่อน สามารถปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้
 ข้อดีของ e-Learning
 1. e-Learning ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านมัลติมีเดียที่ได้รับการออกแบบและผลิตอย่างมี ระบบจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการเรียน จากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว
2. e-Learning ช่วยให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา
3. e-Learning ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนเองได้ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลใดก่อนหรือหลังก็ได้ ตามพื้นฐานความรู้ ความถนัด และความสนใจของตน ทำให้ได้รับความรู้และมีการจดจำที่ดีขึ้น
 4. e-Learning ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอน และกับเพื่อน ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย
 5. e-Learning เป็นการเรียนที่ผู้เรียนแต่ละคน จะได้รับเนื้อหาของบทเรียนเหมือนเดิมทุกครั้ง
 6. e-Learning ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ รวมทั้งเนื้อหามีความทันสมัย และตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันได้อย่างทันที
7. e-Learning ทำให้เกิดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
 ข้อที่ควรคำนึงถึงของ e-Learning
1. ความสำคัญของ e-Learning อยู่ที่การออกแบบ  ดังนั้นแม้ว่าเนื้อหา วิธีการ ที่มีอยู่จะส่งผ่านระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตาม แต่ถ้ารูปแบบไม่น่าสนใจ ไม่สามารถดึงความสนใจของผู้เรียนไว้ได้ ก็ทำให้ผู้เรียนไม่อยากเรียน ก็จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการศึกษาหาความรู้ การนำ e-Learning ไปใช้ นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้วยังทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายและเสียเวลาอีกด้วย
2. การใช้ e-Learning ต้องมีการลงทุนในเรื่องเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พร้อมด้วยอุปกรณ์มัลติมีเดีย และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ต้องเข้ากันได้ดี และต้องคำนึงถึงการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารทั้งระหว่างผู้เรียน ผู้สอนอีกด้วย

 ทำไมครู...จึงต้องเรียนรู้เรื่องการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเพราะเหตุใด

   ตอบ=     ในการ พัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลในนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู – อาจารย์   จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู – อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ  นั้น  คือ นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ครูต้องเรียนรู้เรื่องการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเพื่อสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้
1.เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน  เช่น
1.1  ปัญหาเรื่องวิธีการสอน   ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ  คือ  ครูส่วนใหญ่ยังคง
ยึด รูปแบบการสอนแบบบรรยาย    โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น    การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้น ปลาย   เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย   ขาดความสนใจแล้ว    ยังเป็นการปิดกั้นความคิด   และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
1.2   ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา   บางวิชาเนื้อหามาก    และบางวิชามีเนื้อหาเป็น
นามธรรม ยากแก่การเข้าใจ    จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย    เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็น ต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน   และผลิตสื่อการสอนใหม่  ๆ  เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
2.เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน   ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา    โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ  ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู – อาจารย์ท่านอื่น ๆ  หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู – อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน   ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ  เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป            



บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น